การใช้ Google Form ในการทำแบบประเมินความรู้ (อย่างง่าย)

Google Form คือ เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้ ในลักษณะของคำถามออนไลน์ เป็นหนึ่งในชุด Google Apps for Business ซึ่งเราสามารถนำ Google Form มาใช้ในการทำแบบสอบถามความคิดเห็น หรือแบบสำรวจต่างๆ ได้ โดยผลของแบบสอบถามจะถูกรวบรวมไว้ใน Google Sheets ซึ่งเราสามารถนำมาประมวลผล หรือวิเคราะห์ข้อมูลต่อได้


ในบทความนี้จะยกตัวอย่างการนำ Google Form มาใช้เป็นแบบทดสอบความรู้ วิธีการตรวจคะแนนและวัดผลการประเมิน (ผ่าน/ไม่ผ่าน)

รูปแบบของแบบประเมินที่เหมาะสม

  • คำตอบเป็นตัวเลือกที่ตายตัว (multiple choice, checkbox, choose from a list) เนื่องจากคำตอบที่ตายตัว สามารถนำมาใช้ในการตรวจคำตอบได้สะดวก
  • เป็นการประเมินบุคคลากรในองค์กร เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนของคนที่ทำข้อสอบได้
โดยในบทความนี้ จะขอยกตัวอย่างข้อแบบประเมินที่มีข้อสอบจำนวน 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน เกณฑ์ผ่านอยู่ที่ 7 คะแนน
การตั้งค่า Google Form ตามโจทย์ดังกล่าว จะมีรายละเอียดดังนี้

การออกแบบข้อสอบ

เราสามารถเลือกให้ Google Form สลับลำดับของตัวเลือกเป็นแบบสุ่มได้ ทำให้แต่ละครั้ง ลำดับของตัวเลือก จะเรียงไม่เหมือนกันเสมอไป (ให้ยกเว้นข้อที่มีตัวเลือกจำพวก "ถูกทุกข้อ" ให้ไม่ต้องสลับ เพราะตัวเลือก "ถูกทุกข้อ" ควรจะเป็นตัวเลือกท้ายสุดเสมอ)

เลือกสุ่มลำดับของตัวเลือก และตั้งเป็นคำถามที่เลือกคำตอบ


แต่ละข้อให้กำหนดเป็นข้อที่ต้องตอบ (Required question) เพื่อยังคับให้คนสอบตอบให้ครบทุกข้อ

กำหนดข้อความหลังจากผู้สอบกดส่งคำตอบ ตามความเหมาะสม เช่น แสดง link ไปยังหน้าเฉลย หรือที่อยู่ติดต่อ กรณีมีข้อสงสัย
ตัวอย่างข้อความที่จะแสดงเมื่อผู้สอบกดส่งคำตอบ

การเก็บข้อมูล username

เพื่อยืนยันตัวตนผู้ทำข้อสอบ สามารถทำได้โดยการเลือกคำสั่ง
Require ... login to view this form และ
Automatically collect respondent's ... username 
เลือก option ทั้ง 2 ส่วน เพื่อเก็บข้อมูล username สำหรับยืนยันตัวตน


การตรวจข้อสอบ

สามารถใช้วิธีการให้ผู้ออกข้อสอบ submit คำตอบที่เป็นเฉลย เป็น response แรก (ทำให้ เฉลยจะอยู่ที่ row 2) ข้อสอบมีจำนวน 10 ข้อ เฉลยก็จะอยู่ที่ cell C2:L2

submit คำตอบที่เป็นเฉลยเข้ามาเป็น response แรก เพื่อใช้ในการตรวจคำตอบ


คำตอบของผู้ทำข้อสอบก็จะเริ่มเก็บตั้งแต่ row ที่ 3 ไล่ลงมา 1 row คือ 1 คน

เราสามารถใส่สูตรใน Google Sheets เพื่อเทียบคำตอบกับเฉลย (ซึ่งอยู่ใน row ที่ 2) โดย cell ที่จะใช้นับคะแนนก็จะอยู่หลัง cell ที่เป็นคำตอบ เช่น คำตอบของคนแรกอยู่ในช่วง C3:L3 ดังนั้นเราสามารถใช้ cell M3:V3 สำหรับการนับคะแนน โดยการใช้คำสั่ง
=if(C3=C2,1,0) 
หมายความว่า ถ้าคำตอบ (cell C3) ตรงกับเฉลย (cell C2) จะได้ค่าเป็น 1 ถ้าคำตอบไม่ตรงก็จะได้เป็น 0 และทำซ้ำไปจนครบทุกข้อ (ตอน copy สูตรให้ระวังเรื่องการอ้างอิง cell)

ตัวอย่างการตรวจคำตอบข้อที่ 1 กับ เฉลยข้อที่ 1

การนับคะแนน

เนื่องจาก คำตอบ และคะแนน จะกินพื้นที่มาถึง column V ดังนั้น เราจะรวมคะแนนที่ column W ด้วยสูตร
=sum(M3:V3)
ก็จะได้คะแนนรวมของคนนั้นๆ

ตัวอย่างการรวมคะแนนของผู้สอบในแต่ละแถว พร้อมใส่ conditional formatting เพื่อวัดผลการประเมิน

การประเมินผล

การประเมินผล สามารถใช้ conditional formatting ได้ โดยเลือกที่ column ที่เก็บคะแนนรวม (ในที่นี้คือ column W) และเลือกที่เมนู
Format > Conditional formatting...

ใส่เงื่อนไขตามต้องการ ในที่นี้จะตัดที่ 7 คะแนน กรณีที่น้อยกว่าเกณฑ์ให้แสดงสีแดง ในทางตรงกันข้ามให้แสดงสีเขียว



จากตัวอย่างนี้จะเป็นเพียงการตรวจคะแนนอย่างง่าย ซึ่งเราสามารถประยุกต์ใช้ในกรณีที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นได้ เช่น แต่ละข้อมีค่าน้ำหนักในการคำนวณไม่เท่ากัน ก็สามารถดัดแปลงได้ที่ขั้นการตรวจข้อสอบ

หากสนใจนำระบบ Google Form ซึ่งเป็นหนึ่งในความสามารถอันหลากหลายของ Google Apps for Business สามารถติดต่อมาได้ที่ google@tangerine.co.th ครับ
---
www.tangerine.co.th

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเรียกใช้งาน Google Apps Script

ป้องกันอีเมลสวมรอย (Email spoofing) ด้วย SPF, DKIM และ DMARC

การเขียน Google Apps Script เพื่อใช้งาน Custom Function