Google Data center คือเบื้องหลังของบริการต่างๆจาก Google เช่น Google Apps for Business ที่เป็น messaging and collaboration platform (มี mail, calendar, document เป็นหลัก) สำหรับองค์กร ข้อมูลของผู้ใช้งานบริการต่างๆจาก Google จะถูกส่งมาประมวลผล และเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์ข้อมูลเหล่านี้
Google Apps บริการ messaging and collaboration สำหรับองค์กร
องค์กรที่มีการใช้งาน Google Apps for Business นั้นไม่จำเป็นต้องมีศูนย์ข้อมูลของตนเอง (เปรียบเสมือนการ outsource ระบบ messaging and collaboration ให้ Google เป็นคนจัดการให้) ซึ่งการมีศูนย์ข้อมูลนั้นหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนไปกับอุปกรณ์ต่างๆ ค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และค่าใช้จ่ายประจำ (เช่น ค่าไฟ ค่าแอร์ ค่าบำรุงรักษา และความเสียหายต่อธุรกิจในกรณีที่เกิดระบบเกิด downtime )
ศูนย์ข้อมูลที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของ Google services
ก่อนหน้านี้ Google ได้เผยแพร่วีดีโอที่แสดงให้เห็นถึงระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆของศูนย์ข้อมูล Google เราจะเห็นระบบรักษาความปลอดภัยหลายรูปแบบ รวมไปถึงการเก็บรักษาข้อมูลและการทำลาย harddisk เมื่อหมดอายุการใช้งาน สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่นี่
ล่าสุด Google ได้เผยแพร่ข้อมูลซึ่งเป็นการเยี่ยมชมภายในอาคารศูนย์ข้อมูล และบริเวณโดยรอบ ผ่านมุมมองแบบ street view ที่ให้ประสบการณ์เหมือนเรากำลังเดินอยู่ในศูนย์ข้อมูลนั้นๆ
หากพร้อมแล้ว สามารถเข้าไปเคาะประตูทางเข้าได้ที่นี่เลยครับ ป.ล. หากพบเห็นจุดสังเกตุต่างๆภายใน data center ก็สามารถมาพูดคุยกันได้ที่ comment ด้านล่างนี้เลยนะครับ
Google Apps Script คือวิธีการเรียกใช้งาน Google Apps อีกรูปแบบหนึ่ง ช่วยให้ผู้ใช้สามารถย้ายงานที่ต้องทำซ้ำๆ หรืองานที่มีรูปแบบตายตัว เปลี่ยนมาเป็นการสั่งงานผ่าน script ที่สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก Google Apps Script สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ รู้จักกับ Google Apps Script บทความตอนนี้จะพูดถึงวีธีการเรียกใช้งาน Google Apps Script เนื่องจาก Google Apps Script คือชุดของคำสั่งที่แสดงขั้นตอนการทำงาน ตามที่เราออกแบบและกำหนดไว้ การเขียน Google Apps Script เราจะเรียกกลุ่มของการทำงานว่า function (แบบเดียวกับ method ของภาษา Java) ซึ่งการทำงานของ Google Apps Script จะเกิดจากการสั่ง run function ที่เราระบุไว้ การเรียกใช้งาน Google Apps Script function การเรียกใช้งาน function ใน Google Apps Script สามารถทำได้หลายช่องทาง โดยสามารถจำแนกออกเป็น 3 วิธีการหลักๆ ได้แก่ 1. สั่ง run function ที่ระบุโดยตรง กรณีที่เราต้องการสั่ง run function ที่ต้องการ เราสามารถสั่งงานโดยตรงจากหน้า script editor หรือสั่งงานจากหน้า Script Manager ได้ดังนี้ สำหรับหน้า script editor ให้เลือกชื่อ fun
Google Form คือ เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้ ในลักษณะของคำถามออนไลน์ เป็นหนึ่งในชุด Google Apps for Business ซึ่งเราสามารถนำ Google Form มาใช้ในการทำแบบสอบถามความคิดเห็น หรือแบบสำรวจต่างๆ ได้ โดยผลของแบบสอบถามจะถูกรวบรวมไว้ใน Google Sheets ซึ่งเราสามารถนำมาประมวลผล หรือวิเคราะห์ข้อมูลต่อได้ ในบทความนี้จะยกตัวอย่างการนำ Google Form มาใช้เป็นแบบทดสอบความรู้ วิธีการตรวจคะแนนและวัดผลการประเมิน (ผ่าน/ไม่ผ่าน) รูปแบบของแบบประเมินที่เหมาะสม คำตอบเป็นตัวเลือกที่ตายตัว (multiple choice, checkbox, choose from a list) เนื่องจากคำตอบที่ตายตัว สามารถนำมาใช้ในการตรวจคำตอบได้สะดวก เป็นการประเมินบุคคลากรในองค์กร เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนของคนที่ทำข้อสอบได้ โดยในบทความนี้ จะขอยกตัวอย่างข้อแบบประเมินที่มีข้อสอบจำนวน 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน เกณฑ์ผ่านอยู่ที่ 7 คะแนน การตั้งค่า Google Form ตามโจทย์ดังกล่าว จะมีรายละเอียดดังนี้ การออกแบบข้อสอบ เราสามารถเลือกให้ Google Form สลับลำดับของตัวเลือกเป็นแบบสุ่มได้ ทำให้แต่ละครั้ง ลำดับของตัวเลือก จะเรียงไม่เหมือนกันเสมอไป (ให้ยกเว้นข้อที่มีตัวเลือกจำพวก &qu
Google Form เป็นหนึ่งในชุดเอกสารออนไลน์จาก Google ความสามารถหลักของตัว Google Form นั้นคือการสร้างชุดคำถาม ส่งชุดคำถามนั้นไปยังกลุ่มเป้าหมาย และรวบรวมคำตอบจากผู้ตอบ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน เช่น แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของลูกค้า แบบสอบถามความคิดเห็นจากบุคคลกรฝ่ายต่างๆ แบบทดสอบความรู้สำหรับประเมินนักเรียน ฯลฯ แบบสอบถามในรูปแบบกระดาษ จะต้องเสียเวลาไปกับการรวบรวมข้อมูล นำข้อมูลมาใส่ในรูปแบบดิจิตอล และนำมาประมวลผล ซึ่งหากใช้ Google Form จะสามารถลดขั้นตอนทั้งหมดนี้ได้ทันที การสร้างและใช้งาน Google Form นั้น ค่อนข้างตรงไปตรงมา คือตั้งคำถาม ระบุคำตอบ แต่จะมีรายละเอียดบางส่วนที่จะช่วยให้เราปรับใช้ Google Form ได้ตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น เก็บข้อมูล username ของผู้ตอบโดยอัตโนมัติ ความสามารถนี้จะมีเฉพาะผู้ใช้งาน Google Apps เท่านั้น โดยเราจะต้องเลือกตัวเลือกทั้ง 2 ตามภาพด้านล่าง ตัวเลือกแรกเป็นการระบุให้ผู้ตอบต้อง login ด้วยโดเมนของผู้ใช้ก่อนจึงจะเข้าถึงแบบสอบถามได้ (เหมาะกับแบบสอบถามภายใน ที่มีข้อมูลความลับ หรือข้อมูลเฉพาะภายในองค์กร) ตัวเลือกที่สอง เป็นการระบุว่า Form จะเก็บข้อมูล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น