ประยุกต์ใช้ G Suite ในงาน project management
นอกจาก G Suite จะมีความสามารถในการรับมือการโจมตีที่มาทางอีเมลแล้ว G Suite ยังเป็นชุดเครื่องมือสำหรับการทำงานและสื่อสารในองค์กร ประกอบไปด้วยบริการต่างๆ เช่น Google Sheets, Google Calendar, Google Drive, Google Sites และ อื่นๆ อีกมากมาย
บทความนี้ ผมจะแนะนำการใช้งานบริการเหล่านี้ โดยการประยุกต์มาใช้กับงานในลักษณะ project management ซึ่งจะเป็นงานที่ต้องทำงานร่วมกับหลายๆ ฝ่าย ทั้งการวางแผน การจัดการทรัพยากร การติดตามความคืบหน้า แนวทางที่แนะนำในบทความ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสามารถทั้งหมด ทั้งนี้เรายังสามารถประยุกต์การใช้งานความสามารถอื่นๆ ของ G Suite เพื่อให้การทำงานเป็นทีม สะดวกและง่ายขึ้นได้ด้วยครับ
การวางแผนและติดตามผลด้วย Google Sheets
ในงาน project management เราสามารถวางแผน project ใน Google Sheets และกำหนดหัวข้อเพื่อความสะดวกในการจัดการข้อมูล เช่น TASK, OWNER, DUE DATE, % COMPLETED, STATUS และเริ่มใส่ task ของ project ลงไปรายชื่อ project member ที่เราสร้างไว้ สามารถนำมาทำเป็น dropdown list ใน column "OWNER" เพื่อความสะดวกในการ assign task แต่ละ task ได้ด้วย
กำหนดให้ข้อมูลใน column "% COMPLTED" ใส่ได้แค่ 0% - 100% เท่านั้น โดยการใช้ data validation
เราสามารถใส่สูตรเพื่อแสดงผลใน column "STATUS" ได้โดยอ้างอิงจาก column "% COMPLETED" เช่น ถ้าเป็น 0% ให้ขึ้น "Not started" ถ้าเป็น 100% ให้ขึ้น "Complete" หากไม่ใช่ทั้ง 2 อย่าง ก็ให้ขึ้น "In progress" จะช่วยให้เข้าของ task ใส่แค่ % COMPLETED เท่านั้น ช่อง STATUS จะ update ข้อมูลตามในทันที
project manager สามารถดูภาพรวมของความคืบหน้าของ project ได้ โดยการใส่สูตรคำนวณค่าเฉลี่ยของ column "% COMPLETED" ซึ่ง project จะเสร็จสมบูรณ์ 100% ได้ เมื่อทุก task เป็น 100% นั่นเอง
project member แต่ละคน สามารถเปิดดู task ที่ assign มาให้ตัวเองได้ โดยการใช้ filter view และกรองข้อมูลใน column "OWNER" เพื่อแสดงเฉพาะ task ที่ต้องการ โดยการใช้ filter view จะไม่กระทบกับการดูข้อมูลของผู้อื่น (หากใช้ filter ธรรมดา ข้อมูลจะถูกกรองออกจากหน้าจอทั้งหมด และจะกระทบกับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ด้วย)
หากมีส่วนที่ project manager ไม่ต้องการให้คนอื่นเข้ามาแก้ไข เช่น column "OWNER" ที่เป็นการ assign งานที่ให้ project manager สามารถแก้ไขได้คนเดียวเท่านั้น สามารถใช้ protect range เพื่อปิดการแก้ไขได้
การสื่อสารภายใน project
ในระหว่าง project ช่องทางการสื่อสารกันมีความสำคัญมาก ทั้งการประชุมโปรเจกต์ตามรอบที่กำหนดไว้ เช่น weekly meeting หรือการสื่อสารแบบ adhoc เพื่อให้สามารถ update สถานการณ์กันได้แบบทันที
แสดงผล project milestone ลง calendar
สำหรับการนัดหมายเราสามารถใช้ Google Calendar สร้าง project calendar และสร้าง event หรือ milestone ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นใน project ไว้ให้ชัดเจน project manager และ project member จะสามารถเห็นกำหนดการสำคัญๆ ใน project ตรงกัน และสำหรับคนที่เกี่ยวข้องกับหลาย project ก็จะสามารถแยกแยะงานของแต่ละ project ได้ชัดเจน
ประชุม online ด้วย Hangouts
การประชุม weekly meeting สามารถใช้ Hangout Meet ที่เข้าใช้งานจากหน้า calendar ได้เลย เพียงแค่สร้าง event บน calendar และ invite project member ทุกคนก็สามารถเข้าร่วมประชุมได้จากทุกที่ โดย Hangout Meet สามารถแชร์ภาพหน้าจอของผู้ประชุม เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกัน
สำหรับการสื่อสารช่องทางอื่นๆ ที่ต้องการสื่อสารกันโดยไม่ได้รอคุยกันใน weekly meeting สามารถใช้ Hangout Chat เพื่อสร้าง group ของ project ขึ้นมา เพื่อสื่อสารกันได้แบบปัจจุบันทันด่วน หรือว่าจะเป็นการใส่ comment ในเอกสารทั้ง Google Sheets (Docs และ Slides สามารถใส่ comment ทิ้งไว้ได้ เช่นกัน)
เก็บง่าย หาง่าย ด้วย Google Drive
เอกสารใน project สามารถเก็บรวบรวมให้เป็นที่เป็นทางได้ โดยการสร้าง shared folder หรือ Team Drive ใน Google Drive การจัดเอกสารให้เป็นที่เป็นทาง จะช่วยให้สมาชิกแต่ละคน สามารถเข้าถึงไฟล์ที่จำเป็นได้ในทันที ไม่ต้องเสียเวลาขอไฟล์ หรือค้นหาไฟล์ส่งหากันอยู่บ่อยๆจัดการ To-do list ของ project ด้วย Google Keep
Google Keep เป็นบริการจดโน้ตขนาดสั้นๆ ซึ่งเราสามารถสร้างโน้ตขึ้นมาได้หลายแผ่น และโน้ตแต่ละแผ่นสามารถ share ไปให้ project member เข้ามาจัดการได้ด้วย บางโปรเจกต์จะมีการ track งานโดยแบ่งส่วนเป็น To do, Doing, Done ก็สามารถใช้ Google Keep มาช่วยจัดการงานตรงนี้ได้ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น