collaboration ช่วยส่งเสริมองค์กรของคุณได้อย่างไร

ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ หลังจากมนุษย์รู้จักการทำกสิกรรม ซึ่งสามารถผลิตอาหารและพลังงานหล่อเลี้ยงคนได้มากขึ้น ทำให้ทุกคนไม่จำเป็นต้องทำอาชีพเดียวกัน ก่อให้เกิด specialist ต่างๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างออกไป มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น สิ่งนั้นได้พัฒนาเป็นสังคมขนาดเล็กๆ หลายๆ กลุ่ม

การกสิกรรมสามารถผลิตอาหารได้มากพอสำหรับทุกคน เมื่อทุกคนไม่ต้องทำอาชีพกสิกรรม จึงเกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นในสังคม (ภาพจาก: bighistoryproject.com)

สังคมเล็กๆ นั้น ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นสังคมขนาดใหญ่ มีความซับซ้อนมากขึ้น และก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาเป็นอารยธรรมกสิกรรม (ประชากรส่วนใหญ่ไม่ต้องออกล่าหาอาหาร แต่ใช้อาหารที่ผลิตขึ้นโดยกสิกรรม) ซึ่งในยุคนั้น โลกถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน (World Zone) ที่แยกขาดจากกัน แต่ละส่วนมีพัฒนาการเป็นของตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยทั้ง 4 ส่วนนั้นได้แก่
  1. Afro-Eurasian
  2. American
  3. Australasia
  4. Pacific

ใน 4 World Zone นี้ ส่วนที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดก็คือ Afro-Eurasian โดยมาจากหลายๆ ปัจจัย ได้แก่การเป็นแผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่ออารยธรรมหลายๆ กลุ่ม ทำให้เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยน (exchange network) ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีข้ามกัน เช่นเทคโนโลยีการทำกระดาษและดินปืน จากจีนไปสู่ยุโรป ทำให้เกิดนวัตกรรมที่ก้าวหน้ามากที่สุดเมื่อเทียบกับ zone อื่นๆ

เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางการค้าที่เชื่อมต่อเมืองใหญ่ต่างๆ ใน Afro-Eurasian world zone ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่า zone อื่นๆ (ภาพจาก: bighistoryproject.com)

เมื่อเทคโนโลยีในการสื่อสาร (เช่น การประดิษฐ์โทรสาร) และการคมนาคม (เช่น ความก้าวหน้าทางเทคนิคการต่อเรือและเดินเรือ) ก้าวหน้ามากขึ้น ช่วยให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้มากขึ้น ส่งผลให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีกันมากขึ้น การพัฒนาสิ่งใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าในยุคก่อน และมนุษย์เองก็ไม่หยุดพัฒนาเทคโนโลยีในการสื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต เพื่อให้การสื่อสารสะดวกมากขึ้น (ซึ่งก็เอื้อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ได้เร็วขึ้นเช่นกัน)

การสื่อสารและการคมนาคมที่ก้าวหน้า ช่วยเชื่อมโยงผู้คนและไอเดียต่างๆ จากทั่วโลก (ภาพจาก: คลิป How Did the World Become Interconnected? | Big History Project)

ในยุคปัจจุบันที่การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่คนละซีกโลก สามารถเกิดขึ้นได้ในเสี้ยววินาที การแลกเปลี่ยนไอเดียเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ผู้คนเข้าไปสื่อสารกันในโลกออนไลน์กันมากขึ้น (ทั้งในปริมาณเชิงจำนวนข้อมูล และเชิงเวลา)

งานวิจัยจาก Google แสดงให้เห็นว่าผู้คนใช้เวลาไปกับการสื่อสารผ่านหน้าจอต่างๆ มากขึ้น (ที่มา: The New Multiple-screen World)

ในระหว่างที่บุคลลากรในองค์กรของคุณ สามารถติดต่อกับเพื่อนฝูงและคนรู้จักได้อย่างสะดวกด้วยบัญชีส่วนตัว (เช่น Facebook, Google+, Twitter) แล้วองค์กรของคุณเองมีช่องทาง หรือเครื่องมืออะไรที่จะมารองรับพฤติกรรมการสื่อสารที่หลากหลายนี้ได้ นอกจากอีเมล? คงดีไม่น้อย หากองค์กรพิจารณาในการเตรียมพื้นที่รองรับ ให้บุคคลากรในองค์กรทุกคน สามารถแลกเปลี่ยน พูดคุย แบ่งปันไอเดียระหว่างกันได้อย่างหลากหลาย และอยู่ในรูปแบบที่พวกเขาคุ้นเคย และช่วยสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันได้มากขึ้น ซึ่งก็จะเอื้อให้องค์กรนั้นเกิดนวัตกรรมได้มากขึ้นเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง
สื่อสารภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย Google Apps for Work + Chromebox for Meetings

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเรียกใช้งาน Google Apps Script

ลดเวลาการเรียก API ใน Apps Script ด้วย fecthAll

ออกแบบระบบให้คุยข้าม module กันได้ ด้วย Pub/Sub