บทความ

ตรวจสอบและจัดการข้อมูลบน Google Cloud Platform ง่ายๆ ด้วย Data Catalog

รูปภาพ
 การนำระบบงานขึ้นไปใช้งานบน cloud มีข้อดีหลายๆ อย่าง ทั้งค่าใช้จ่ายที่ยืดหยุ่นกว่า เพราะจ่ายตามการใช้งานจริง ความรวดเร็วในการพัฒนาระบบ เนื่องจากมีบริการต่างๆ พร้อมให้เลือกมาใช้งานได้ทันที รวมถึงความปลอดภัยในการใช้งาน ที่ผู้ให้บริการมีมาตรฐานในการดูแลระบบ ในบริการแต่ละตัว เราสามารถกำหนดการเข้าถึงบริการ รวมถึงข้อมูลที่อยู่ในบริการนั้นๆ ได้ผ่าน Identity And Access Management ซึ่งเชื่อถือได้ แต่หากเรามีข้อมูลกระจายอยู่ในหลายๆ บริการ เช่น ข้อมูลลูกค้าในระบบวิเคราะห์ข้อมูล ที่จะต้องเก็บไว้ตามขั้นตอนการทำงานกับข้อมูล ทั้งบน Cloud Storage, CloudSQL, PubSub หรือ BigQuery การจัดการข้อมูลข้อมูลในภาพรวม ก็จะซับซ้อนมากขึ้น เช่น หากเราต้องการดูข้อมูลของแผนกดูแลลูกค้า ที่กระจายอยู่ในทุกๆ service เพื่อจะได้ตรวจสอบได้ครบถ้วน การไล่ดูข้อมูลทีละจุดคงไม่สะดวกนัก Data Catalog เป็นระบบที่ช่วยให้เราจัดการข้อมูลได้ง่ายขึ้น ผ่านการกำหนด metadata ให้กับข้อมูลในแต่ละจุด การเรียกดูข้อมูล สามารถระบุ metadata ที่เราสนใจ Data Catalog จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ตรงเงื่อนไขมาแสดงให้เราเห็นในจุดเดียว แม้ว่าข้อมูลนั้นจะกระ

กำหนดสิทธิ์ราย column บน BigQuery ด้วย BigQuery column-level security

รูปภาพ
BigQuery เป็นบริการคลังข้อมูลที่รองรับการเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้ ในเวลารวดเร็วและราคาคุ้มค่า การที่ข้อมูลจะถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะต้องมีการเปิดสิทธิ์ให้ผู้ใช้จากแต่ละส่วนให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ การกำหนดสิทธิ์เบื้องต้นนั้น สามารถทำได้ในระดับ project, dataset, table หรือ view แต่ถ้าหากข้อมูลที่เราเก็บลง table มีแค่บาง column ที่เป็นข้อมูลความลับ และไม่อยากแยกเก็บข้อมูลลง table ใหม่ จะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง BigQuery สามารถกำหนดสิทธิ์ที่ระดับ column ได้ โดยการทำงานร่วมกับ Data Catalog มีรายละเอียดดังนี้ สร้าง policy tag ด้วย Data Catalog 1.เริ่มจากการเข้าไปตั้ง Taxonomies ใน Data Catalog และกด +CREATE 2. กำหนดชื่อ taxonomy เลือก project และกดหนด Policy tags (สามารถกำหนด policy เป็นลำดับชั้นซ้อนกันได้) และ Locations (ต้องเป็น location เดียวกับ dataset ของ BigQuery ที่เราต้องการคุมสิทธิ์) และกด SAVE 3. ที่หน้า taxonomy กดเลือก policy tag ที่เพิ่งสร้าง และกด +ADD MEMBER เพื่อกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้ที่สามมารถเข้าถึงข้อมูลใน tag ได้ 4. ระบุบัญชีของ user ที่เราจะให้สิทธิ์ (

จำกัดการเข้าถึง cloud storage จาก IP address ด้วย VPC Service Control

รูปภาพ
     องค์กรที่มีการใช้งาน public cloud นั้น เพราะเห็นข้อดีหลายๆ อย่างของ cloud ทั้งความยืดหยุ่นในการใช้ทรัพยากร การคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง และไม่ต้องปวดหัวจัดการเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเองทั้งหมด      ในแง่ของความปลอดภัยนั้น การเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ บน public cloud จะต้องเข้าถึงด้วยสิทธิ์ที่อนุญาตไว้ด้วย Identity Access Management (IAM) ดังนั้น ความปลอดภัยของข้อมูล จะถูกกำหนดจากการตั้งค่า IAM เป็นพื้นฐาน IAM ใช้ในการกำหนดสิทธิ์ว่าใครสามารถเข้าถึง resource อะไรได้บ้าง      ด้วยความเป็น public cloud ที่สามารถเข้าถึงได้จากที่ไหนก็ได้ องค์กรขนาดใหญ่หลายที่จึงมีข้อกำหนดการใช้งานเพิ่มเติม โดยต้องการจำกัดการเข้าถึงทรัพยากรบน cloud จาก network ขององค์กรเท่านั้น นั่นคือ นอกจากจะได้สิทธิ์บน IAM แล้ว การเข้าใช้งานต้องมาจาก IP address ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้น กรณีที่ผู้ไม่หวังดี สามารถเข้าถึง account ที่ได้สิทธิ์ ก็จำเป็นต้องหาทางเข้าถึง network ขององค์กรด้วย เป็นการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง ตัวอย่างการควบคุมการเข้าถึง VM ด้วย firewall      หากเป็น servic